ลูกน้อยนอนกรน อาจเป็นโรคต่อมอะดีนอยด์โต อย่าชะล่าใจ

คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตลูกน้อยไหมว่า มีอาการนอนกรน ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่าควรพบแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงกับโรคต่อมอะนีนอยด์โตในเด็กได้ หากปล่อยไว้จะยิ่งอันตราย

ต่อมอะดีนอยด์คืออะไร มีความสำคัญกับเด็กอย่างไร 

อะดีนอยด์” คือ ต่อมน้ำเหลืองประเภทเดียวกันกับต่อมทอลซิล อยู่บริเวณเยื่อบุหลังโพรงจมูก ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในช่วงวัยเด็กตั้งแต่อายุ 2-12 ปี โดยทำหน้าที่คล้ายกับเป็น “สัญญาณเตือนภัย” ที่บ่งบอกว่าร่างกายของเราเกิดการติดเชื้อขึ้นแล้ว เนื่องจากเป็นจุดเก็บเม็ดเลือดขาว กล่าวคือเมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในร่างกาย ต่อมอะดีนอยด์จะโตและอักเสบขึ้น ทำให้มีอาการผิดปกติเป็นสัญญาณให้เราควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา ทั้งนี้ ต่อมอะดีนอยด์จะลดบทบาทหน้าที่ลง และไม่มีผลต่อการป้องกันโรคใดๆ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ 

อาการแสดงในเด็กมีอะไรบ้าง 

สำหรับการสังเกตอาการว่าเด็กเป็นโรคต่อมอะดีนอยด์โตหรือไม่นั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จาก 2 อาการหลักๆ คือ “คัดจมูก” กับ “หายใจนอนกรน” หรืออาจมีอาการน้ำมูกไหลร่วมด้วยคล้ายกับอาการภูมิแพ้ ทั้งนี้  แต่ทั้งนี้การนอนกรนอาจเกิดจากต่อมทอลซิลโตก็เป็นไป อาการสังเกตอื่นๆ ที่อาจพบได้ ก็เช่น หูอื้อ หูน้ำหนวก เนื่องจากต่อมอะดีนอยด์อยู่บริเวณหลังเยื่อบุโพรงจมูก ซึ่งเป็นจุดที่มีรูเปิดของหูชั้นกลาง (Eustachian Tube) ดังนั้นหากเกิดอาการต่อมอะดีนอยด์โตแล้ว จะส่งผลทำให้มีโอกาสไปปิดกั้นรูเปิดดังกล่าว ทำให้น้ำที่อยู่ในหูชั้นกลางระบายออกไม่ได้ และอาจทำให้สูญเสียการได้ยินชั่วคราวได้ หากไม่ได้รับการรักษา 

ต่อมอะดีนอยด์โตส่งผลอย่างไรต่อเด็กในระยะยาว 

เนื่องจากอาการแสดงหลักของเด็กที่เป็นโรคต่อมอะดีนอยด์โตนั้น คือ “การนอนกรน” จึงทำให้หากปล่อยไว้นานไม่รีบรักษา จะส่งผลต่อพัฒนาการที่ช้าลงกับเด็กได้ เนื่องจากขาดออกซิเจนในขณะหลับ ทำให้ผลการเรียนแย่ลง และนำไปสู่การป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นได้ ทั้งนี้ ยังอาจส่งผลต่อลักษณะโครงสร้างใบหน้าที่อาจเปลี่ยนไปได้ด้วย เนื่องจาก ต้องอ้าปากหายใจตลอดเวลา 

วินิจฉัยอย่างไร  

หลังจากการซักประวัติสอบถามอาการแล้ว แพทย์จะทำการเอ็กซเรย์หรือส่องกล้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติของต่อมอะดีนอยด์ โดยจะตรวจไปยังบริเวณหลังโพรงจมูก  

รักษาอย่างไรเมื่อเป็นโรคต่อมอะดีนอยด์โต 

การรักษาโรคต่อมอะดีนอยด์โตในเด็กนั้น สามารถทำได้โดยการผ่าตัด อาการจะดีขึ้นภายใน 7 วัน 

อาการนอนกรนในเด็ก อาจไม่ใช่เรื่องปกติ และอาจเสี่ยงเป็นโรคต่อมอะดีนอยด์โตได้ หากปล่อยไว้นานจะส่งผลเสียต่อการได้ยิน พัฒนาการทางสมอง และทางร่างกายได้ หากสงสัยควรรีบพบแพทย์ทันที่