ภาวะขาดวิตามินดี อันตรายหรือไม่

วิตามินดี เป็นหนึ่งในวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย โดยจะเป็นวิตามินชนิดที่จะเป็นตัวละลายในไขมัน ที่ร่างกายจะสามารถทำการสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ได้ หลังจากที่ผิวหนังได้รับรังสียูวีบี (UVB) จากแสงแดด โดยเฉพาะแสงแดดในช่วง 10.00 น. – 15.00 น. โดยที่วิตามินดี ถือว่ามีส่วนสำคัญกับระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายมาหลายอย่างส่วน

ทั้งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ดูดซึมแคลเซียม และรวมไปถึงการดูแล และควบคุมของระบบการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ นอกจากนี้ วิตามินดี ยังถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ในการช่วยในเรื่องของการลดปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ต่อโรค หรือภาวะที่ผิดปกติบางอย่างภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันสูง เบาหวาน การติดเชื้อ โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) ไปจนถึงโรคมะเร็งบางชนิด

ขาดวิตามินดี ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

สำหรับการขาดวิตามินดีในกรณีของผู้ใหญ่นั้น ผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินดีโดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะก่อตัวขึ้นมา โดยที่จะไม่พบสัญญาณที่ผิดปกติใด ๆ ต่อร่างกาย หรือผู้ป่วยบางราย ที่อาจจะพบอาการบางอย่างขึ้นมา ซึ่งจะมีความรุนแรงเพียงเล็กน้องเพียงเท่านั้น จึงทำให้เป็นการปล่อยปะละเลย เช่น อ่อนเพลีย ปวดกระดูก ปวดหลังส่วนล่าง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ซึมเศร้า วิตกกังวล น้ำหนักขึ้น เจ็บป่วยง่าย แผลหายช้า ผมร่วง เป็นต้น

สำหรับการขาดวิตามินดีในกรณีของเด็กนั้น ภาวการณ์ขาดวิตามินดี จะส่งผลโดยตรงต่อภาวการณ์ผิดปกติภายในร่างากายบางชนิด เช่น ฟันขึ้นช้า หงุดหงิดง่าย เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจ ชัก หรือในกรณีที่รุนแรงอาจส่งผลให้เด็กเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (Cardiomyopathy) ได้

วิธีป้องกันภาวะขาดวิตามินดี

โดยปกติแล้ว ปริมาณความต้องการของร่างกายมนุษย์แต่ละคน ที่ต้องการวิตามินดีเข้าไปเสริมสร้างร่างกาย จะมีปริมาณที่แตกต่างกันออกไป โดยที่จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ หรือสุขภาพโดยรวมซะมากกว่า โดยในเบื้องต้น การป้องกันภาวะขาดวิตามินดีในผู้ที่ไม่ได้มีภาวะขาดวิตามินดีสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการรับแสงแดดให้ได้ประมาณ 15–20 นาที ประมาณ 3 วัน/สัปดาห์

และนอกไปจากนี้ ถึงแม้ว่าวิตามินดีจะเป็นสารอาหารที่สามารถพบเจอได้น้อยในอาหาร แต่การเลือกรับประทานอาหารเสริม ที่มีวิตามินดีเป็นส่วนประกอบ ก็ถือว่ามีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดวิตามินได้เช่นกัน โดยอาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินดี ที่สามารถหาได้จากไข่แดง ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า เนื้อวัว ตับ และรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมาจากนมวัวบางชนิด ที่มีการเสริมวิตามินดีเข้าไป ก็จะสามารถช่วยบำรุง ตามินดี ภายในร่างกายได้นั่นเอง